วันที่ 4 ธ.ค. 66 นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ทางจังหวัดเลย เสนอของบ 28 ล้านบาท เพื่อทำการศึกษาผลกระทบโครงการ “กระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง” ใหม่อีกรอบ โดยที่ประชุมเห็นชอบในหลักการ ส่งให้สำนักงบประมาณไปพิจารณาจัดลำดับความเหมาะสม พร้อมพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไป
ทำให้โครงการดังกล่าวกลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด หากมองย้อนกลับไปจะพบว่า กระเช้าไฟฟ้าภูกระดึง เป็นโครงการที่มีจุดเริ่มต้นเมื่อ 27 ปีที่แล้ว
รื้อแผน"กระเช้าภูกระดึง" เสนองบศึกษา 28 ล้าน
เที่ยว “ภูกระดึง” เช็กจุดไฮไลท์-ขั้นตอนขึ้นยอดเขา ในวันที่ยังไม่มีกระเช้า คำพูดจาก สล็อตวอเลท
17 กันยายน 2539 – รัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา
คณะรัฐมนตรี มีมติรับทราบสถานการณ์โดยภาพรวมของการท่องเที่ยวในประเทศปี 2539 จึงมีการเสนอปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เช่น ภูกระดึง และเกาะภูเก็ต พร้อมมีแผนสร้าง “กระเช้าไฟฟ้า” เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว
26 พฤศจิกายน 2539 – รัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
คณะรัฐมนตรี มีมติรับทราบพิจารณาการสร้างกระเช้าไฟฟ้า ในอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย ตามที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เสนอ
2 ธันวาคม 2539 – รัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
คณะรัฐมนตรี มีมติรับทราบการศึกษาทบทวนมติครม. ในเรื่องที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง และเห็นชอบในการศึกษาทบทวนในเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชน หากดำเนินโครงการดังกล่าว
21 เมษายน 2547 – รัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี เดินทางไปตรวจราชการในพื้นที่จังหวัดเลย พร้อมมีคำสั่งให้ศึกษาการสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง โดยหาวิธีที่ไม่ทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงประชาชนในพื้นที่ และต้องไม่ตัดต้นไม้ รวมถึงนักท่องเที่ยวต้องสามารถเห็นสัตว์ป่าจากด้านบนได้
แต่โครงการนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ จากกรณีการรัฐประหาร โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นำโดยพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
22 กุมภาพันธ์ 2555 – รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
คณะรัฐมนตรี มีมติรับทราบและสนับสนุนโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง และเห็นควรให้ศึกษาโครงการอย่างละเอียดรอบคอบ โดยมีรายละเอียดข้อเสนอเพื่อพิจารณาของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เกี่ยวกับการสนับสนุนโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงที่ ต.ศรีฐาน อ.ภูกระดึง จ.เลย
ปี 2556 – รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ได้ว่าจ้าง ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับบริษัทแกรนด์เทค จำกัด และบริษัท ไทยซิสเทมเอนไว แอนด์ เอนจิเนียริ่ง จำกัด ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง ใช้งบประมาณจากสำนักงบประมาณที่จัดสรรให้ปีงบประมาณ 2557 จำนวน 23 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม การศึกษาโครงการดังกล่าว ใช้ระยะเวลาศึกษาค่อนข้างนาน กระทั่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ พ้นจากตำแหน่งหลังจากยุบสภาผู้แทนราษฎร และเกิดการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โครงการกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงจึงถูกระงับลง
23 กุมภาพันธ์ 2559 – รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ผลการศึกษาโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง โดยสำนักงบฯรวมถึงกน่วยงานต่าง ๆ ระบุว่า เป็นโครงการที่มีความคุ้มค่าในการลงทุน ทั้งด้านการเงินและด้านเศรษฐศาสตร์ รวมถึงมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ใช้วงเงิน 633.89 ล้านบาท
หรือกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ออกมาระบุว่า ได้เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ของโครงการดังกล่าวแล้ว พบว่า กระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุและนักท่องเที่ยว รวมทั้งช่วยลดขยะได้อีกทางหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ทางรัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ไม่มีการหยิบยกโครงการดังกล่าวมาสานต่อ ทำให้โครงการสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงเงียบลงอีกครั้ง
4 ธันวาคม 2566 – รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน
นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร เห็นชอบในหลักการ ให้นำเรื่องนี้ส่งให้สำนักงบประมาณไปพิจารณาจัดลำดับความเหมาะสมตามความเร่งด่วน ต้องรอสำนักงบประมาณ ไปจัดลำดับความสำคัญก่อน หลังทางจังหวัดเลย เสนอของบ 28 ล้านบาทเพื่อทำการศึกษาผลกระทบโครงการนี้ใหม่อีกรอบ
ป.ป.ช. แจงยิบ ยืนยัน“ครูชัยยศ” ถูกปลดเพราะมีมูลความผิดอย่างร้ายแรง
ยูเนสโกประกาศแล้ว! "สงกรานต์" เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
คกก.ซอฟต์พาวเวอร์ เคาะงบฯ 5,164 ล้าน ดัน 11 ด้านซอฟต์พาวเวอร์ไทย