ยังคงจะต้องจับตากันต่อไปสำหรับตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเหลือเวลาอีกไม่ถึง 24 ชั่วโมง ก็จะมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้ว แต่กลับยังไม่ได้ข้อยุติในตำแหน่ง “ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ”ระหว่างพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย
โดยเงื่อนปมปัญหาดังกล่าว สามารถสืบย้อนไปได้ตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.2566 ที่พรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย พรรคไทยสร้างไทย พรรคประชาชาติ พรรคเสรีรวมไทย พรรคเป็นธรรม พรรคเพื่อไทรวมพลัง และพรรคพลังสังคมใหม่ ร่วมแถลงข่าวเอ็มโอยูจัดตั้งรัฐบาล
22 พ.ค.2566
แกนนำ 8 พรรคการเมือง ลงนามเอ็มโอยูจัดตั้งรัฐบาล โดยมีกระแสข่าวว่าพรรคเพื่อไทยได้แจ้งความประสงค์ไปยังแกนนำพรรคก้าวไกลถึงความต้องการตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร
23 พ.ค. 2566
นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า
โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก ตอนหนึ่งว่า “ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นตำแหน่งที่พรรคก้าวไกลเสียไปไม่ได้เป็นอันขาด”
24 พ.ค. 2566
นายอดิศร เพียงเกษ พรรคเพื่อไทย
ให้สัมภาษณ์ ตอนหนึ่งว่า “ต้องดูบุคลากรของทั้งสองพรรค ซึ่งผมคิดว่าพรรคเพื่อไทย น่าจะมีความเหมาะสมในตำแหน่งประธานสภาฯมากกว่า”
25 พ.ค. 2566
นายรังสิมันต์ โรม โฆษกพรรคก้าวไกล
ให้สัมภาษณ์ ตอนหนึ่งว่า “ตำแหน่งนี้ต้องเป็นของก้าวไกล เพราะต้องรักษาประเพณีที่ตำแหน่งนี้จะมาจากพรรคอันดับหนึ่งเสมอ”
25 พ.ค.2566
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย
ให้สัมภาษณ์ ตอนหนึ่งว่า “ทางพรรคก้าวไกลได้นายกฯเบอร์ 1 ไปแล้ว ถ้าเพื่อไทยจะมีโอกาสทำงานตรงนี้ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย”
25 พ.ค.2566
พรรคเพื่อไทย
โพสต์ข้อความข้อความผ่านทวิตเตอร์ ตอนหนึ่งว่า “ประธานสภาผู้แทนราษฎร ควรเปิดทางผลักดันทุกนโยบาย ของพรรคร่วมรัฐบาลให้สำเร็จ ไม่ใช่ผลักดันวาระของพรรคใดพรรคหนึ่งเท่านั้น”
26 พ.ค.2566
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล
ให้สัมภาษณ์ ตอนหนึ่งว่า “เชื่อว่าพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลจะสามารถปรับความเข้าใจกันได้ และมั่นใจว่าจะมีทางออกของปัญหา ไม่ต้องถึงขั้นเปิดโหวตให้ชิงตำแหน่งประธานสภา”
26 พ.ค.2566
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ให้สัมภาษณ์ ตอนหนึ่งว่า “ทีมเจรจาของพรรคเพื่อไทยได้เสนอเรื่องไปก่อนหน้านี้แล้ว ว่าตำแหน่งประธานสภา ควรเป็นของพรรคเพื่อไทยเพราะพรรคก้าวไกลได้ตำแหน่งประมุขฝ่ายบริหารไปแล้ว”
30 พ.ค. 2566
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
“ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ทั้ง 2 พรรคจะพิจารณาร่วมกัน ไม่คำนึงถึงว่าเป็นโควตาของพรรคใดพรรคหนึ่ง”
17.มิ.ย. 2566
มีกระแสข่าวว่า ทั้งเพื่อไทยและก้าวไกล เห็นตรงกันเรื่องปัญหาตำแหน่งประธานสภา และได้ข้อยุติแล้ว ยืนยันว่าเป็นข้อยุติที่ทั้งเพื่อไทยและก้าวไกลพึงพอใจ
18 มิ.ย. 2566
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย
ให้สัมภาษณ์ ตอนหนึ่งว่า “พรรคเพื่อไทยเห็นชอบในหลักการ พรรคที่ได้คะแนนอันดับ 1 จะต้องทำหน้าที่ประธานสภา ซึ่งพรรคอันดับหนึ่งหมายถึงพรรคการเมืองที่ได้เสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งระบบเขต และบัญชีรายชื่อมากที่สุด”
จับตา! “ก้าวไกล-เพื่อไทย” เตรียมแถลงข้อยุติประธานสภาค่ำนี้
"สุริยะ" เผยกก.บห. "เพื่อไทย" เคาะ "วันนอร์" เป็นประธานสภา
ประธานสภาผู้แทนราษฎร เลือกกันอย่างไร?
19 มิ.ย.2566
นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล
ให้สัมภาษณ์ ตอนหนึ่งว่า “คาดว่าจะได้ข้อยุติของตำแหน่งประธานสภาฯ ภายในสัปดาห์นี้ ต้องขอขอบคุณผู้บริหารพรรคเพื่อไทยที่มีท่าทีออกมาในลักษณะนี้ทำให้การทำงานร่วมกันดีขึ้น”
20 มิ.ย. 2566
กระแสข่าว แชทหลุดพรรคเพื่อไทย โดย ส.ส. ของพรรคที่แสดงความไม่พอใจที่พรรคไม่ฟังเสียงข้างมาก หรือมติพรรคในการวางตัวประธานสภา รวมถึงไม่พอใจในฝ่ายบริหารพรรคที่ตัดสินใจเองในการสนับสนุนพรรคก้าวไกลให้นั่งประธานสภา
21 มิ.ย. 2566
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ชี้แจงในการ การสัมมนา ส.ส.พรรคเพื่อไทย ว่า “เพื่อไทยเห็นว่าควรเป็น 14 + 1 คือ ตำแหน่งประธานสภาประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ ควรเป็นของพรรคเพื่อไทย แต่ทั้งนี้เรื่องตำแหน่งประธานสภายังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ยังรอคำตอบจากทางพรรคก้าวไกล”
21 มิ.ย. 2566
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ให้สัมภาษณ์ ตอนหนึ่งว่า “ส.ส.ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าพรรคเพื่อไทยควรจะได้ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร”
26 มิ.ย. 2566
นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล
ให้สัมภาษณ์ ตอนหนึ่งว่า “พรรคที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับ 1 ควรจะต้องได้ตำแหน่งประธานสภาฯ”
27 มิ.ย. 2566
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
แถลงข่าว ตอนหนึ่งว่า “กรรมการบริหารพรรคมีความเห็นว่าควรยืนในหลักการ 14+1 และให้กรรมการเจรจาไปเจรจากับพรรคก้าวไกลต่อไป โดย 14 รัฐมนตรี และ 1 ประธานสภา ขอเป็นของพรรคเพื่อไทย”
27 มิ.ย. 2566
พรรคก้าวไกล โพสต์เฟซบุ๊ก โชว์วิสัยทัศน์ ของนายปดิพัทธ์ สันติภาดา ในฐานะแคนดิเดตประธานสภาของพรรคก้าวไกล
28 มิ.ย. 2566
พรรคก้าวไกลเลื่อนการประชุมหาข้อสรุปตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรกับพรรคเพื่อไทย พร้อมเลื่อนประชุม 8 พรรคร่วม
29 มิ.ย. 2566
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
แถลงข่าว ตอนหนึ่งว่า “เราขอไม่ได้แข่ง เราขอให้คุณอนุญาตให้เราหรือไม่ และเป็นสิทธิ์ของพรรคอันดับหนึ่งในการตัดสินใจ เราจะได้กลับมาพิจารณาว่าจะทำอย่างไร หากไม่ให้ และกลับคิดว่าจะทำงานแบบไหน”
29 มิ.ย. 2566
กระแสข่าวพรรคเพื่อไทยยอมถอยให้พรรคก้าวไกลได้ตำแหน่งประธานสภาฯ ส่วนพรรคเพื่อไทยได้ตำแหน่งรองประธานสภาฯ 2 ตำแหน่ง บนเงื่อนไขว่าทั้ง 8 พรรคจะไม่แยกตัวออกไปไหน
30 มิ.ย. 2566
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ปฏิเสธข่าวพรรคเพื่อไทยยอมถอยให้พรรคก้าวไกลได้ตำแหน่งประธานสภาฯ ส่วนพรรคเพื่อไทยได้ตำแหน่งรองประธานสภาฯ 2 ตำแหน่ง พร้อมยืนยันว่า เป็นการปล่อยข่าวที่ทำให้พรรคก้าวไกลตกเป็นจำเลย
2 ก.ค.2566
การประชุม 8 พรรคร่วมรัฐบาล ยังไร้ข้อสรุปปมประธานสภา โดยพรรคเพื่อไทย ขอหารือเป็นการภายในก่อน และคาดว่าจะมีความชัดเจนในระดับทีมเจรจา ในวันที่ 3 ก.ค.
3 ก.ค. 2566
กระแสข่าว พรรคเพื่อไทย จะเสนอชื่อคนกลาง คือนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ ชิงตำแหน่งประธานสภา
3 ก.ค. 2566
พรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย นัดแถลงข่าวร่วมกันเรื่องข้อยุติประธานสภา ในเวลา 19.00 น. ที่โรงแรมแลงคาสเตอร์คำพูดจาก สล็อตวอเลท